วันอาทิตย์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 6

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 6
 วัน จันทร์   ที่  15 เดือน กุมพาพันธ์   พ.ศ.2559

วลาเรียน 08:30-14:30 น.

เวลาเข้าสอน 08:30น.  เวลาเข้าเรียน 08:30น.  เวลาเลิกเรียน14:30 น.

บันทึกการเรียนครั้งที่ 5

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 5
 วัน จันทร์   ที่  8  เดือน กุมพาพันธ์   พ.ศ.2559

วลาเรียน 08:30-14:30 น.

เวลาเข้าสอน 08:30น.  เวลาเข้าเรียน 08:30น.  เวลาเลิกเรียน14:30 น.


ความรู้ที่ได้รับและกิจกรรมการเรียนการสอน The knowledge gained and activities.
 -   กิจกรรมการเรียนการสอนวันนี้ ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน  โดยทำวิจัยเรื่องการส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 4-5 ปี โดยใช้  กิจกรรมการเล่านิทานประกอบเกมการศึกษา โดยมีสมาชิกดังนี้
     นางสาวมนสิชา  ศิลปสิทธิ์  
     นางสาวเจนจิรา    ไทยแท้
     นางสาวสุวนันท์  มณีทิพย์
     นางสาวพัชริดา  พุฒิธรรมพงษ์
โรงเรียนเทพวิทยา แขวงลาดพร้าว   เขตลาดพร้าว  จังหวัดกรุงเทพมหานคร
-          โดยอาจารย์กำหนดให้ทำบทที่ 1 มานำเสนออาจารย์ในวันที่ 15 ก.พ. 59
การประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน
  สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในวิจัยปฐมวันในอนาคตได้ แล้วยังได้ความรู้เรื่องวิจัยเพิ่มมากขึ้น
การประเมินผลการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง : เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์และจดบันทึกความรู้
ประเมินเพื่อน : เพื่อนตั้งกาเรียบร้อย เข้าเรียนตรงต่อเวลา พุดกันบ้างเล็กน้อย
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เป็นแบบอย่างที่ดี เข้าสอนตรงต่อเวลา อธิบายเข้าใจในส่วนเนื้อหาที่ยากให้ใจง่ายและยังคอยให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาเป็นรายกลุ่มอีกด้วย



วันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 4

 บันทึกการเรียนครั้งที่ 4
 วัน จันทร์   ที่  1  เดือน กุมพาพันธ์   พ.ศ.2559

วลาเรียน 08:30-14:30 น.

เวลาเข้าสอน 08:30น.  เวลาเข้าเรียน 08:30น.  เวลาเลิกเรียน14:30 น.


กิจกรรม/ความรู้ที่ได้รับThe knowledge gained and activities.
-เรียนเรื่องเค้าโครงการวิจัยในชั้นเรียน
-อธิบายหัวข้อวิจัย ว่าแต่ละข้อมีวิธีการและหน้าหาเป็นอย่างพร้อมให้ดูเป็นตัวอย่าง
-อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาไปศึกษาตามหัวข้องานวิจัยพร้อมกับสาเหตุที่มาของปัญหาที่หอสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
1.ชื่อโครงการวิจัย(ระบุชิ่งานวิจัย)……………………………………………………..
2.ชื่อผู้วิจัย……………………………………………………………………………
3.ความสำคัญที่มาของปัญหา
  ลักษณะการเขียน ให้เขียนเรียงตามลำดับขั้นตอนดังนี้
3.1 เขียนอธิบายตัวแปรตาม(สิ่งที่ต้องการแก้ปัญหา/พัฒนา) คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อผู้เรียน หากผู้เรียนได้รับการแก้ปัญหา หรือพัฒนาย่อมเกิดประโยชน์ต่อผู้เรียน และสังคมอย่างไร (มีข้อมูล แนวคิด หลักการ ทฤษฏี งานวิจัย สนับสนุน) เขียนอธิบายสภาพที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
3.2 เขียนอธิบายสภาพปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จาการสังเกตพฤติกรรม การตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ การสัมภาษณ์ พบว่า………………………….(ซึ่งสิ่งที่พบไม่เป็นไปตามสภาพที่พึงประสงค์ของเกณฑ์ เป้าหมาย หรือความต้องการของหลักสูตร) (มีข้อมูล แนวคิด หลักการ ทฤษฏี งานวิจัย สนับสนุน)
3.3 เขียนอธิบายผลที่มาของปัญหาที่เกิด จากความแตกต่างระหว่างข้อ 1 และ 3 พร้อมบอกสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งอาจมีหลายปัญหา เช่นผลกระทบจากการขาดทักษะ................................ซึ่งป็นสิ่งสำคัญของผู้เรียนที่ใช้ในการแสวงหาความรู้ทำให้ผู้เรียนเกิด …………………….ซึ่งสาเหตุของการขาดทักษะ...............................เกิดขึ้นได้จาก(บอกหลายสาเหตุ)…………………….และเหตุประการสำคัญเกิดจาก………………………………..) (มีข้อมูล แนวคิด หลักการ ทฤษฏี งานวิจัย ฯลฯ สนับสนุน)

3.4 เขียนอธิบายวิธีแก้ปัญหาเขียนอธิบายวิธีแก้ปัญหา สามารถปฏิบัติได้หลายวิธีเช่น...................................... ) (มีข้อมูล แนวคิด หลักการ ทฤษฏี งานวิจัย สนับสนุน)
3.5 เขียนวิธีแก้ปัญหาที่เลือก ซึ่งคิดว่าเป็นวิธีการที่ดีที่สุด (นวัตกรรมที่นำมาใช้แก้ปัญหา/พัฒนาการรียนรู้) อธิบายเหตุผลว่าวิธีการนี้เหมาะสมอย่างไร) (มีข้อมูล แนวคิด หลักการ ทฤษฏี งานวิจัย สนับสนุน)
3.6 เขียนอธิบายประโยชน์ เขียนอธิบายประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับหลังจากการนำนวัตกรรมมาใช้แก้ปัญหา หรือพัฒนาการเรียนรู้

ประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง : คิดหาหัวข้อการวิจัยด้วยการสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์น็ต
ประเมินเพื่อน : มีส่วนร่วมในการคิดหัวข้อการวิจัย
ประเมินอาจารย์ : บรรยายหัวข้อวิจัยได้ชัดเจนและมีหลักการ

วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

                                                                                  บันทึกการเรียนครั้งที่ 3

วัน จันทร์   ที่ 25   เดือน มกราคม   พ.ศ.2559


เวลาเรียน 08:30-14:30 น.


เวลาเข้าสอน 08:30น.  เวลาเข้าเรียน 08:30น.  เวลาเลิกเรียน14:30น.
                                                                                     

ความรู้ที่ได้รับ/กิจกรรมในชั้นเรียน

è      ทำแบบทดสอบก่อนเรียนเกี่ยวกับวิจัยทางการศึกษาปฐมวัยเพื่อจะได้รู้ว่าความรู้พื้นฐานของแต่ละคนมีความรู้เดิมอะไรบ้าง

è      ช่วยกันวิเคราะห์ปัญหาของแต่ละบุคคลและวิธีการแก้ไขปัญหา โดยวิเคราะห์แต่ละคนและให้เพื่อนๆช่วยกันเสนอความคิดเห็น

è      เรียนรู้เรื่องวิจัยหน้าเดียว โดยอาจารย์วิเคราะห์ไปทีละข้อพร้อมอธิบายให้เข้าใจเพิ่มมากขึ้น และมีตัวอย่างวิจัยให้นักศึกษาได้ดูเป็นแนวทางตัวอย่างในการทำวิจัยหน้าเดียว

è      จากนั้นให้นักศึกษาไปทำงานวิจัยหน้าเดียว โดยการศึกษาจากห้องสมุด ระบบอินเทอร์เน็ต และจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ แล้วนำมาส่ง E-mail

ร่วมกันสรุปว่าวันนี้มีความรู้อะไรบ้าง

-          มีความรู้เรื่องแนวทางการแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันของแต่ละบุคคล

-          เรียนรู้เรื่องวิจัยหน้าเดียวทำให้มีความรู้ในการทำวิจัยมากขึ้น

            การประเมินผล

ประเมินเพื่อน : วันนี้เพื่อนเข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี

ประเมินตนเอง : วันนี้แต่งกายถูกระเบียบ เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจฟังและบันทึกความรู้

ประเมินอาจารย์ : วันนี้อาจารย์ให้ความรู้ และข้อเสนอแนะต่างๆมากมาย วันนี้อาจารย์ไม่สบายเล็กน้อย

วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2559

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2

บันทึกการเรียนครั้งที่ 2
วัน จันทร์   ที่ 18   เดือน มกราคม   พ.ศ.2559
เวลาเรียน 08:30-14:30 น.
เวลาเข้าสอน08:30น.  เวลาเข้าเรียน 08:30น.  เวลาเลิกเรียน14:30น.


กิจกรรม/ความรู้ที่ได้รับ


-ได้ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ

-ทำงานเป็นกลุ่ม ทำให้เกิดความสามัคคีกันภายในกลุ่ม

-วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา แล้วนำมาทำเป็นเพาเวอร์พอยจากนั้นได้นำเสนอให้ครูและเพื่อนๆดูเพื่อแลกเปลี่ยนคามรู้ที่ได้ไปสืบค้นมา เพื่อเป็นข้อมูลที่ดีสำหรับเพื่อนๆ



นำเสนองานกลุ่ม

กลุ่มของดิฉันนำเสนอเรื่อง



งานวิจัย เรื่อง ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะ
สร้างสรรค์การฉีก ตัด ปะ เศษวัสดุ

FINE MOTER ABILITY OF EARLY CHILDHOOD CHILDEN ENHANCING PATCHING AND TEARING CREATIVE

การศึกษาระดับ  ปริญญาตรี     มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้วิจัย  รวิพร  ผาด่าน

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

 1. เพื่อศึกษาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์การฉีก ตัด ปะเศษวัสดุ
2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ฉีก ตัด ปะเศษวัสดุ

ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย                                                   
ตัวแปรอิสระ/ตัวแปรต้น /ตัวจัดกระทำ
           การจัดกิจกรรมศิลปสร้าสรรค์ การฉีก ตัด ปะเศษวัสดุ
ตัวแปรตาม
           ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก
นิยามศัพท์เฉพาะ
1.  ความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก หมายถึง การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กในการทำงานที่ละเอียดซึ่งไม่ต้องอาศัยการเคลื่อนที่ของร่างกาย แต่เป็นการใช้ความสัมพันธ์ของกล้ามเนื้อมือ นิ้วมือ แขน ไหล่ ให้ทำงานประสานสัมพันธ์กับสายตา โดยผ่านระบบประสาททางกล้ามเนื้อ เพื่อทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์การฉีก ตัด ปะเศษกระดาษ ทำให้สามารถทำงานได้อย่างดี
2.  การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ การฉีก ตัด ปะเศษวัสดุ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ที่เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงออกทางความคิด จินตนาการ

สมมุติฐานการวิจัย

  สมมติฐานการวิจัย เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์การฉีก ตัด ปะเศษวัสดุ มีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กได้ดีขึ้น

วิธีดำเนินการวิจัย

ประชากร

   เด็กปฐมวัยชาย หญิง อายุระหว่าง 4-5 ขวบ ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาล 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ของโรงเรียนในสหวิทยาเขตเขื่อนกระเสียว อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี รวม 9 โรงเรียน

การดำเนินการวิจัย

1.  ผู้วิจัยนำแบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมาทดสอบก่อนการทดลอง (pretest) กับกลุ่มตัวอย่าง
2.  ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์การฉีก ตัด ปะเศษวัสดุเป็นเวลา 5 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 5 วัน วันละ 40 นาที รวม 25 ครั้ง ระหว่างเวลา 10.00 – 10.40 น. ซึ่งในแต่ละวันจะเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆตามแผนการจัดประสบการณ์ศิลปะสร้างสรรค์การแก ตัด ปะเศษวัสดุ
3. เมื่อดำเนินการครบ 5 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบความสามารถในการใช้ กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย หลังการทดลอง (Posttest) กับกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กฉบับเดียวกันกับแบบทดสอบที่ใช้ก่อนการทดลอง
4. นำคะแนนที่ได้จากการทดลองไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติ

การวิเคราะห์ข้อมูล

1.คะแนนที่ได้จากการทดสอบวัดความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการทดลองนำมาหาค่าสถิติพื้นฐาน โดยนำข้อมูลไปหาคะแนนเฉลี่ย (Mean) และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation)
2.   เปรียบเทียบความแตกต่างของความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังกาทดลองกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์การฉีก ตัด ปะเศษวัสดุ โดยใช้สถิติ t – test สำหรับ Dependent Samples

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

   สถิติพื้นฐานที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 
1. คะแนนเฉลี่ย (Mean)

 2. หาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)

สรุปผลการวิจัย

    สรุปผลการวิจัย หลังการทดลองเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์การฉีก ตัด ปะเศษวัสดุมีความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กโดยรวมสูงกว่าก่อนการทดลอง

ข้อเสนอแนะ
 1. ควรมีการศึกษาความสามารถด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กของงเด็กปฐมวัย เด็กปฐมวัยในช่วงอายุไหนมีพัฒนาการเป็นอย่างไร แล้วจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัย
 2. ควรมีการศึกษาความสามารถด้านกล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยที่ได้รับกิจกรรมสร้างสรรค์การฉีก ตัด ปะเศษวัสดุในสังดักอื่นๆ เช่น โรงเรียนที่สังกัดในหน่วยงานของเอกชน โรงเรียนที่สังกัดในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เป็นต้น
 3. ควรมีการศึกษาผลการจักกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์การฉีก ตัด ปะเศษวัสดุที่มีต่อความสามารถด้านอื่นๆ เช่น ความสามารถทางการคิด การใช้ความร่วมมือ ความเชื่อมั่น พฤติกรรมการช่วยเหลือ ความสามารถทางคณิตศาสตร์เป็นต้น

งานวิจัยของกลุ่มอื่น ๆ มีดังนี้

1.วิจัยเรื่อง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้หนังสือภาพประกอบคำคล้องจองเพื่อพัฒนาทักษะด้านการฟังและการพูดของเด็กปฐมวัยในโรงเรียนบ้านไทยสมบูรณ์ อำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย

2.วิจัยเรื่อง การใช้กิจกรรมการวาดเพื่อเตรียมคามพร้อมด้านการเขียนของเด็กปฐมวัย

3.วิจัยเรื่องผงการใช้กิจกรรมการพับเพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย

4.วิจัยเรื่อง การส่งเสริมทักษะการคิดของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมวิทยาศาสตร์

5.วิจัยเรื่อง การพัฒนาสื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบนิทานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมสำหรับเด็กปฐมวัย

6.วิจัยเรื่อง การส่งเสริมทักษะการคิดขอองเด็กปฐมวัยโดยใช้เกมการศึกษา